Tag: Tech
-
ทำให้ Pebble Time แสดงผลภาษาไทย + ญี่ปุ่น
จากวันก่อนที่ทำให้ Pebble Time อ่านภาษาไทยออกแล้ว ก็มาเจอปัญหากรณี use case ของผมบ้างคือ ปกติผมจะเจอ Notification ที่เป็นทั้งภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น ก็ต้องออกแรงเพิ่มเพื่อทำให้อ่านได้ทั้งหมด TLDR; – โหลด language pack ไปลงผ่านมือถือ Android ก็จะอ่านออก Thai + Japanese Language Pack เวอร์ชัน 0.1 (2015.06.29) – ดาวน์โหลด สำหรับคนมีเวลาอ่าน – วิธีการ pack / unpack ก็เหมือนๆ กับตอนที่ทำภาษาไทย แต่ว่าคราวนี้นอกจากจะเอาฟอนต์จาก pebblebits มาใส่แล้ว ยังต้องเอาฟอนต์ภาษาญี่ปุ่นมาใส่ด้วย ผมใช้ฟอนต์ Shinonome ที่แจกฟรีเป็น public domain มาใส่ ข้อดีคือมันเป็น bitmap font ทำให้แสดงผลจอความละเอียดต่ำได้สวยงามกว่าพวก truetype…
-
จับภาษาไทยใส่ Pebble Time
TLDR; – Pebble Time อ่านภาษาไทยไม่ออก ใช้มือถือ Android โหลดเอา language pack ไปลงผ่าน app Pebble Time ซะ ก็จะอ่านออก Thai language pack เวอร์ชัน 0.3 (2015.06.29) – ดาวน์โหลด Thai language pack เวอร์ชัน 0.2 (2015.06.15) – ดาวน์โหลด สำหรับคนมีเวลาอ่าน – เรื่องมันมีอยู่ว่าช่วงเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ผมสั่งนาฬิกา Pebble Time จากเว็บ KickStarter ตั้งแต่ตอนที่มันเปิดตัว โดยมี blind faith ที่ว่าในเมื่อมันอ่านภาษาจีนออก มันก็ควรจะใช้งานภาษาอื่นได้ด้วย พอได้ของจริงมา ปรากฏว่าเป็นดังคาดคืออ่านภาษาไทยไม่ออกเหมือนกับ Pebble รุ่นแรก แต่ของเก่านี่มีคนทำ custom firmware ใส่ฟอนต์ภาษาไทยไว้…
-
รีวิว Sony Xperia Z3
Sony Xperia Z3 เป็นมือถือรุ่นเรือธงของ Sony ในช่วงครึ่งหลังของปี 2014 เป็นตัวต่อจาก Xperia Z2 ที่ออกมาเมื่อต้นปี ตามรอบการออกมือถือของ Sony ที่ออกปีละ 2 ครั้ง ต่างจากยี่ห้ออื่นที่ออกกันปีละครั้ง สเป็คคร่าวๆ ของ Xperia Z3 ตัวนี้คือ ซีพียู Snapdragon 801 ความเร็ว 2.5 GHz (ปรับความเร็วขึ้นมาจาก 2.3 GHz ของ Xperia Z2) หน้าจอ IPS ขนาด 5.2″ ความละเอียด FullHD 1920×1080 หน่วยความจำ 3 GB พื้นที่ความจุภายใน 16 GB ใส่ SD Card เพิ่มได้ กล้องหลังใช้เซ็นเซอร์ Exmor RS ความละเอียด…
-
Swipe Gesture in Firefox 4
ใน Firefox 4 จะมีฟีเจอร์ใหม่เพิ่มขึ้นมาตัวนึง ชื่อว่า Firefox Panorama ก็คือการจัดกลุ่มของแท็บต่างๆ ได้ ถ้าใช้งานบน Mac OS X จะสามารถเข้าถึงได้ด้วยการใช้ Cmd-E หรือใช้ Touchpad สามนิ้วเลื่อนจากล่างขึ้นบน (3 fingers swipe up) ซึ่งฟีเจอร์นี้มันก็สะดวกดี แต่ปกติจะตั้งค่าของ 3 fingers swipe up ให้เป็นเลื่อนไปตำแหน่งบนสุดของหน้า และ 3 fingers swipe down ให้เป็นเลื่อนลงมาล่างสุด ดังนั้น ถ้าอยากได้พฤติกรรมเดิมๆ ก็ต้องเหนื่อยกันเล็กน้อย วิธีก็คือเข้าไปที่ about:config แล้วเปลี่ยนค่า browser.gesture.swipe.down ให้เป็น cmd_scrollBottom แล้วก็เปลี่ยน browser.gesture.swipe.up เป็น cmd_scrollTop ก็จะได้ behavior แบบเดิมๆ กลับมา
-
Thai OCR in Google Docs
ไปเห็นข่าว Google Docs รองรับ OCR ภาษาไทยแล้ว ก็มาลองเล่นดูเองบ้าง โดยลองตัดเอาข้อความจากหนังสือเล่มหนึ่งมาลองดู ปรับรูปให้เป็นภาพขาวดำ เพื่อให้ OCR ทำงานได้ง่ายขึ้น แต่ลองดูแล้วเหมือนจะไม่ช่วยสักเท่าไหร่ ดูแล้วยังเละเกินกว่าจะใช้งานจริงๆ ได้ จากเท่าที่เคยลองมา ดูเหมือนว่าในงาน OCR ภาษาไทยนี่ยังไม่มีโปรแกรมที่จะใช้งานได้จริงจังสักตัวเลย
-
Back to iOS again
เมื่อก่อนนี้ ก่อนที่จะมาใช้มือถือ android ก็เคยใช้ iPhone รุ่นแรกมาก่อน ก็มีความสุข และรู้สึกว่ามันเปลี่ยน lifestyle ของตัวเองไปเลย จนกระทั่งวันที่เบื่อ iPhone แล้วและอยากหาความท้าทายใหม่ๆ ก็ย้ายค่ายไปเล่น Android ดูบ้าง ไปๆมาๆ จนวันนี้ได้กลับมาใช้อุปกรณ์ iOS อีกครั้ง มันเริ่มที่ว่าอยากลองใช้ tablet แต่ว่าในตลาดตอนนี้ ไม่มี android tablet ที่ราคากับคุณภาพโอเคเลย และ platform Honeycomb เองก็ยังใหม่มากและไม่ mature พอ สุดท้ายก็เลยมาจบที่ iPad 2 กะว่าเอามาใช้รอเวลาจนกว่าจะมี Honeycomb tablet ดีๆ ออกมา (น่าจะสักปีหน้า) ก็เลยซื้อรุ่นถูกสุด (16 GB wifi) หลังจากลองเล่นดูวันนึง สรุปได้ประมาณนี้ hardware ทำมาดีตามสไตล์ apple ให้ความรู้สึกที่ดีในการจับถือและใช้งาน CPU A5 ทำงานได้รวดเร็ว…
-
Barcamp Bangkok 5
เพื่อไม่เป็นการละเลยกฎของ BarCamp ข้อสอง “You do blog about BarCamp” ก็ขอบันทึกลง blog ไว้สักหน่อย BarCamp Bangkok ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 ห่างจากครั้งที่ 4 ไปปีกว่า (แต่ระหว่างนั้นก็มีคนจัด BarCamp Bangkhen ไปสองรอบ) รูปแบบของงานเปลี่ยนไปจากงานครั้งอื่นๆ เยอะ จากงานที่มีคนเข้าร่วมหลายร้อยคน (ครั้งที่ 2-4) ก็เหลือแค่ไม่ถึงร้อยคน ตัดรายละเอียดรุงรังที่ทำให้การจัดงานวุ่นวายโดยไม่จำเป็นออกนั่นคือ ไม่เลี้ยงข้าว ไม่มีแจกเสื้อ ไม่มีเน็ตฟรี บวกกับการจำกัดจำนวนคนเข้าร่วม (เนื่องจากสถานที่ไม่ใหญ่) บังคับให้คนลงทะเบียนต้องระบุหัวข้อที่จะพูดก่อนวันงาน ทำให้ BarCamp คราวนี้เป็นงานที่มีหัวข้อน่าสนใจเยอะกว่าครั้งที่ผ่านๆ มาอย่างชัดเจน session ที่ได้เข้าก็มีเรื่อง Hadoop / OpenStreetMap / Websocket / MeshBKK / CDN / Manycore System แล้วก็พูดเองไป session…
-
Redesign
วันนี้มีเวลาว่างๆ ทั้งวัน ได้โอกาสทำเรื่องที่อยากทำมานานแล้วคือ ย้าย pittaya.com จากโฮสติ้งเดิมที่เป็น shared host ของ site5 มาอยู่บน cloud สักที เรื่องการใช้งานก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่รู้สึกว่าการบริหารจัดการผ่านหน้า web interface มันไม่ถนัด แล้วบนโฮสต์ก็มีของที่ไม่ใช้แต่ไม่ได้ลบออก เละเทะไม่ค่อยเป็นระเบียบ รวมทั้งสัญญาเช่าจะหมดเอาปลายเดือนนี้แล้วด้วย ก็เลยได้จังหวะย้ายเสียเลย คำถามแรกที่เจอคือ จะย้ายไปอยู่ที่ไหน ซึ่งตัวเลือกยอดฮิตก็มี 3 ยี่ห้อใหญ่ คือ EC2 ของ Amazon, Azure ของ Microsoft หรือว่า GCE ของ Google แต่ละเจ้าก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป สุดท้ายก็เลือกเอา EC2 ของ Amazon เพราะเคยใช้มาก่อนแล้ว คุ้นเคยที่สุด ขี้เกียจอ่าน document เพิ่มเติม เนื่องจากว่าเป็น blog เล็กๆ คนเข้าไม่เยอะ เลือกใช้เครื่องแบบถูกสุดของ Amazon ก็น่าจะพอ…